การขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์
หลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์
จะพิจารณาจากขนาดการผลิตกระแสไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง โดยแยกเป็น 3 เงื่อนไขดังนี้
- เงื่อนไขที่ 1 : แผงโซล่าเซลล์ (PV) < 200kWp (<200,000 Watt)
- เงื่อนไขที่ 2 : แผงโซล่าเซลล์ (PV) >= 200kWp แต่ไม่เกิน 1,000kWp (200,001 Watt – 1,000,000 Watt)
- เงื่อนไขที่ 3 : แผงโซล่าร์เซลล์ (PV) >=1,000kWp (1,000,000 Watt) ขึ้นไป
การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และ ขนาดการติดตั้งของโซลาเซลล์ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ในกรณีของโซลาเซลล์ภาคประชาชนขนาดไม่เกิน 10 kW ที่กำลังเป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจกันมากอยู่ตอนนี้นะครับ โดยโซล่าภาคประชาชนปี 62 นั้นสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
การไฟฟ้านครหลวง (MEA) : https://spv.mea.or.th/
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA : https://ppim.pea.co.th/
โดยขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์และขออนุญาตขายไฟฟ้ามีดังนี้
การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ จะมีขั้นตอนเริ่มจากการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า online โดยผู้สมัคร หรือ คนขายระบบโซลาเซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ upload เอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอ MEA/PEA พิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน และจะ ตรวจสอบ capacity ของหม้อแปลงว่าสามารถรับระบบ โซลาเซลล์ได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะดำเนินการแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยืนแบบ คำขอขายไฟฟ้า จนถึง ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครับ เมื่อแล้วเสร็จจะดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า และ ลงนามซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะต้องไปชำระค่าบริการที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ การไฟฟ้านครหลวงประจำท้องที่ที่ติดตั้ง
เมื่อชำระค่ามิเตอร์ และ ลงนามแล้ว จะต้องมีการแจ้งทางโยธาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/เขต) โดยมีแบบสำรวจสถานที่ตั้ง และ การคำนวนความปลอดภัยด้านโครงสร้างซึ่งมีวิศวกรโยธารับรอง โดยทางวิศวกรโยธาจะพิจารณาว่ามีจำเป็นจะต้องเสริมโครงสร้างหรือไม่ และหลังจากนั้นจะต้องนำเลขสัญญา เอกสารแจ้งกับทางส่วนท้องถิ่น เพื่อมายื่นขอ การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับทาง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเมื่อได้เอกสารชุดนีแล้วทางการไฟฟ้าจะส่ง วิศวกรมาตรวจระบบโซล่าเซลลว่าเป็นไปตามมาตราฐานการติดตั้งหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วทางการไฟฟ้าจะมาเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ digital เพื่อที่จะ ดำเนินการขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าต่อไป
โดยเบื้องต้นเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตการไฟฟ้า มีดังนี้
รายการ | หมายเหตุ | |
1 | หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ | มิเตอร์ 1 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 5kW มิเตอร์ 3 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 10kW |
2 | ชนิด รุ่น ยี่ห้อ แผง solar cell | |
3 | ชนิด รุ่น ยี่ห้อ | ต้องเป็นรุ่นที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น |
4 | แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) | มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร และแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ |
5 | เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ) | |
6 | ข้อมูลอื่นๆ เช่น แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้าน |
ระยะเวลาการพิจารณา ประมาณ 30 วัน
ค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต 9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter
สรุป ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
1. ยื่นใบอนุญาติก่อสร้าง
เพื่ออาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อทำการดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคาก่อนทำการติดตั้ง
สิ่งที่ต้องเตรียม
- แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์และรายละเอียดของการติดตั้ง
- รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา)
เมื่อได้รับหลักฐานการอนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ก็ทำการติดตั้งได้เลย
2. ลงทะเบียน
เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ. ได้ที่ https://www.cleanenergyforlife.net/
สิ่งที่ต้องเตรียม
- สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
- ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์ที่เห็นครบชุดแผง อินเวอร์เตอร์
- แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง
- แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
- เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
- ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง
- ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
- สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใชไฟ
- บิลค่าไฟ
- ติดต่อ การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ
เมื่อผู้ติดตั้งได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตจากทากกพ. เรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการประสานงานต่อกับทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง เพื่อเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าต่อไป
3. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. (PEA)
ทำการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการขายไฟหรือขอขนานไฟผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้า MEA ที่ https://myenergy.mea.or.th/ และลงทะเบียนของ PEA ได้ที่ https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco (ในส่วนของ PEA ไม่เข้าร่วมโครงการขายไฟให้เตรียมเอกสารไปยื่นกับการไฟฟ้าเขตของพื้นที่นั้นๆ)
สิ่งที่ต้องเตรียม
- แบบคำขอ ข.1
- เอกสารแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
- บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ (โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw.
- เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
- ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง
- ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
- แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชี (ใบกว.)
- ข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซล่าครบทุกแผง
4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ
เมื่อแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ จาก กกพ. และ กฟน. หรือ กฟภ. ผ่านเรียบร้อย จะต้องไปชำระค่าบริการต่างๆ ค่าขนาดไฟ และทำสัญญาซื้อขายไฟกับการไฟฟ้า (ในกรณีเข้าร่วมโครงการโซล่าถาคประชาชน) จากนั้นการไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบสายภายใน และระบบการผลิต เมื่อผ่านตามข้อกำหนดต่างๆแล้ว การไฟฟ้าก็จะทำการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ และทำการเชื่อมต่อ COD กับระบบของการไฟฟ้า จากนั้นก็จะสามารถเริ่มใช้งานโซล่าเซลล์ระบบออนกริดได้เลย
Solar all ประกอบธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า โซล่าเซลล์ เครื่องทำน้ำร้อนโซล่าเซลล์ โซล่าปั๊ม รับเหมา ติดตั้ง และ วางระบบโซล่าเซลล์ และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานทดแทน ครบวงจร ดูแลและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ไม่ทอดทิ้งลูกค้า โดยวิศวกรและทีมงานมากประสบการณ์
ช่องทางติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ : 081-994-9965
Line : @solarall
Facebook: Solar All